อาเซียน

new1
ประชาคมอาเซียน

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations: ASEAN) หรือ “อาเซียน” เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า อาเซียนมีพื้นที่ราว ๔,๔๓๕,๕๗๐ ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของชาติสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา อยู่ในลำดับที่ 9 ของโลก เมื่อเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวม มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการของอาเซียน

อาเซียนมีจุดเริ่มต้นมาจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพ” อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น จำนวน 5 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนเป็น 10 ประเทศในปัจจุบัน “กฎบัตรอาเซียน” ได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศเมื่อต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะประกอบด้วยวิสัยทัศน์และเสาหลักของประชาคมอาเซียน ดังนี้

วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 เพื่อกำหนดเป้าหมายว่าภายในปีค.ศ. 2020(พ.ศ. 2563)

1) วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(A Concert of Southeast Asian Nations)

2) หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต (A Partnership in Dynamic Development)

3) มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก (An Outward-Looking ASEAN)

4) ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร (A Community of Caring Societies)

เป้าหมายสำคัญ - การทำให้ประเทศสมาชิกเป็น “ครอบครัวเดียวกัน (ความเป็นอยู่ที่ดี มีความปลอดภัยค้าขายสะดวก) - เพิ่มอำนาจการต่อรอง และขีดความสามารถ ในการแข่งขัน - สามารถรับมือกับปัญหาระดับโลกที่ส่งผล กระทบต่อ ASEAN

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น